วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

...Source : http://www.youtube.com/watch?v=32tMqWTw2ZM&feature=related


Chapter 2 The Muay Thai Rules 

กฎกติกา มารยาทมวยไทย




The Muay Thai Rules

The complete boxer must always remember that the winner of a Muay Thai bout is decided according to rules. He must know and strictly follow the rules of the Muay Thai competition.

All effective Muay Thai techniques score

To produce a good score the technique should have a visible effect on the opponent. It is not the number or variety of Muay Thai techniques, but their effectiveness that the judges are looking for, so it is possible to win using one Muay Thai technique exclusively. Judges are looking to award the fight to the strongest fighter. They are looking for evidence of the effect of Muay Thai techniques. And they are looking for mental and physical strength, and technical ability.

Muay Thai scoring rules

A panel of three judges decide at the end of each round if the round resulted in a draw (scores 10:10), a win by significant margin (score 10:9) or a win by undisputed margin (10:8). At the end of the match the score judges add up the points scored and nominate a winner to the referee. If there are three different votes (win, defeat, draw) at the end of the match the verdict is a draw.

Muay Thai rules of dress

Contestants must wear no shirt or shoes. The sacred headband (Mongkon) must be removed on completion of Ram Muay ritual dance, before the start of the bout. The application of any ointment or herb that may be repugnant to your opponent is prohibited. Hands should be wrapped with soft tape not longer than 12 yards and not wider than 2 inches. This can be taped into place.

Other Muay Thai rules

A Muay contest is divided into no more than five rounds. Each round is three minutes long, with a two minute rest period in between. Contestants must weigh in naked before the fight. Contestants must have been taught the art of Muay Thai boxing by a teacher. There must be a time keeper in every contest. Contesnats must complete the Ram Muay before the bout can begin.

Weight divisions


Fly weight up to 112 lbs

Bantam weight up to 118 lbs

Feather weight up to 126 lbs

Light weight up to 135 lbs

Welter weight up to147 lbs

Middle weight up to up to 160 lbs

Heavy weight over 175
Many thanks: http://www.horizonmuaythai.com


มวยไทย MuayThai
มวยไทยเป็นศาสตร์


มวยไทย เป็นการต่อสู้ของคนไทยที่มีมานานหลายร้อยปี มีบางคนกล่าวว่า มวยไทยเป็น ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด คือ สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า


มวยไทย จะมีทั้งศาสตร์การป้องกันและการรุก ... การป้องกันก็คือ การยืนที่มั่นคงไม่ล้มง่าย การตั้งแขนป้องกัน (การการ์ดมวย) และการเก็บคาง ซึ่งการป้องกันนี้จะเปรียบเสมือนป้อมปราการที่มั่นคง มีโอกาสบาดเจ็บน้อย แต่พร้อมที่จะโจมตีตอบโต้ได้ทุกเวลา ส่วนการรุก ก็คือ การใช้แม่ไม้มวยไทยและลูกไม้มวยไทยต่างๆ ที่เคลื่อนไหวอย่างเด็ดขาดรุนแรงและสง่างาม อาวุธมวยจะมีทั้งการต่อสู้ระยะไกล(วงนอก) และการต่อสู้ระยะประชิด(วงใน) การออกอาวุธมวยจะมีทั้งมีเป้าหมายที่แน่นอน การซ่อนกลลวง และมีทั้งการข่มขวัญเอาไว้
แม่ไม้มวยไทย มีทั้งหมด 15 ไม้ มีชื่อไพเราะดังนี้ ....สลับฟันปลา ...ปักษาแหวกรัง ….ชวาซัดหอก … อิเหนาแทงกริช …..ยอเขาพระสุเมรุ ……ตาเถรค้ำฝัก ….มอญยันหลัก ….ปักลูกทอย …..จระเข้ฟาดหาง …..หักงวงไอยรา …..นาคาบิดหาง …..วิรุฬหกกลับ …. ดับชวาลา ….. ขุนยักษ์จับลิง ….. หักคอเอราวัณ
ลูกไม้มวยไทย จะมีทั้งลูกผสมและลูกแยก เพื่อใช้ล่อหลอกและเผด็จศึกคู่ต่อสู้ เช่น ...แตะตรงเตะ แตะถีบเตะ แตะตรงถีบเตะ ....หรือลูกเตะสลับ เตะช้อน เตะตวัด เตะสูง เตะสวาบ เตะพับนอก เตะพับใน เตะคา ....หรือลูกถีบหน้า ถีบหลัง ถีบจิก ....หรือลูกศอกตี ศอกตัด ศอกงัด ศอกพุ่ง ศอกกระทุ้ง ศอกกลับ ...หรือลูกเข่าน้อย เข่าลา เข่าโค้ง เข่าตี เข่ากระทุ้ง เข่าลอย เข่าแหลม เข่าคา ....หรือลูกหมัดหน้า หมัดหลัง หมัดลัก หมัดอ้อม หมัดเกี่ยว หมัดสอย หมัดเสย หมัดซ้ำ หมัดหนึ่งสอง หมัดชุดสามเหลี่ยม เป็นต้น


มวยไทยจะใช้ทั้งหมัด ศอก เข่า และเท้า
หากเป็นเชิงหมัด มวยไทยจะมี 15 เชิง ........กาจิกไข่ …พระพรายล้มสิงขร …วานรหักด่าน ….พระกาฬเปิดโลก ….โขกนาสา .....อินทราขว้างจักร …พระลักษณ์ห้ามพล ….ผจญช้างสาร …หนุมานถวายแหวน ….ล่วงแดนเหรา …..นาคาพ่นไฟกาฬ …..หักด่านล่มกรด …..องคตพระขรรค์ …..ฤาษีลืมญาณ ….หนุมานจองถนน


หากเป็นเชิงศอก มวยไทยจะมี 24 เชิง ….พุ่งหอก …ศอกฝานหน้า …พร้ายายแก่ …แง่ลูกคาง …ถางป่า ….ฟ้าลั่น …..ยันพยัคฆ์ …..จักรนารายณ์ …..ทรายเหลียวหลัง …..กวางสบัดหน้า ….คชาตกมัน ….พสุธาสะท้าน ….ยันโยธี …..อัคคีส่องแสง …..กำแพงภูผา …..นาคาคาบหาง.…ช้างประสานงา …สู่แดนนาคา ….โยธาเคลื่อนทัพ ….ยันสองกร ….ฆ้อนตีทั่ง …..ขว้างพสุธา …..ฤาษีบดยา ……นาคาเคลื่อนกาย


หากเป็นเชิงเข่า มวยไทยจะมี 11 เชิง ……กุมภัณฑ์พุ่งหอก …..หยอกนาง ……เชยคาง ……พรางศัตรู ……งูไล่ตุ๊กแก ……ตาแก่ตีชุด …….หยุดโยธา …….ภูผาสะท้าน ……หักคอช้างเอราวัณ ……ดั้นภูผา ….ศิลากระทบ


และหากเป็นเชิงเท้า มวยไทยจะมี 15 เชิง ……เปิดทวาร …..ลงดานประตู …..กระทู้ขรัวตา ……โยธาสินธพ ……มานพเล่นขา …..มัจฉาเล่นหาง …..กวางเล่นโป่ง …..ณรงค์พยุหบาท …..จระเข้ฟาดหาง …..กินรีเล่นน้ำ …..ตามด้วยแข้ง …..แปลงอินทรีย์ ….พาชีสะบัดย่าง……นางสลับบาท ……กวาดธรณี




ยิ่งกว่านั้น มวยไทยยังมี กลมวยไทย แก้หมัด 29 กล, กลมวยไทย แก้ศอก 4 กล, กลมวยไทย แก้เข่า 3 กล, และกลมวยไทย แก้เท้าอีก 23 กล


1. กติกามวยไทย




1. สังเวียนมวยหรือเวทีมวย
ขนาดของสังเวียน จะต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดเล็ก ด้านละ 20 ฟุต (6.10 เมตร) หรือขนาดใหญ่ ด้านละ 24 ฟุต (7.30 เมตร) ซึ่งวัดภายในของเชือก พื้นสังเวียน จะต้องได้ระดับ เรียบแน่นหนามั่นคง ปูด้วยยาง หรือผ้าอย่างอ่อน หรือเสื่อฟางอัด หรือวัสดุที่เหมาะสม หนาไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว และปูทับด้วยผ้าใบที่ขึงตึงและคลุมพื้นสังเวียนทั้งหมด และต้องยื่นออกไปนอกเชือก อย่างน้อย 90 ซม. (36 นิ้ว) พื้นสังเวียนต้องอยู่สูงจากพื้นอาคารไม่ต่ำกว่า 4 ฟุตและไม่เกิน 5 ฟุต ตั้งเสาขนาด 4-5 นิ้ว สูงขึ้นไปจากพื้นเวที 58 นิ้ว มุมทั้งสี่ต้องหุ้มนวมให้เรียบร้อย


เชือกขึงสังเวียน จะต้องมีเชือก 4 เส้น มีความหนาอย่างน้อย 3 ซม. อย่างมาก 5 ซม. ขึงตึงกับเสามุมทั้งสี่ของสังเวียน สูงจากฟื้นสังเวียนขึ้นไปถึง ด้านบนของเชือก 45 ซม., 75 ซม., 105 ซม., และ 135 ซม. ตามลำดับ เชือกทุกเส้นต้องหุ้มด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่มและเรียบ เชือกแต่ละด้านของสังเวียน จะต้องผูกยึดกันด้วยผ้าเหนียว 2 ชิ้น ซึ่งมีขนาดกว้าง 3 – 4 ซม. ให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน และผ้าที่ผูกนั้นต้อง ไม่เลื่อนไปตามเชือก


บันไดสังเวียน จะต้องมี 3 บันได มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 3 ฟุต สองบันไดจะต้องอยู่ที่มุมตรงข้ามสำหรับนักมวยและพี่เลี้ยง ส่วนอีกบันได จะต้องอยู่ที่มุมกลาง สำหรับผู้ชี้ขาดและแพทย์


กล่องพลาสติก ....ณ ที่มุมกลางทั้งสองมุม จะต้องติดตั้งกล่องพลาสติกไว้นอกสังเวียน มุมละ 1 กล่อง เพื่อให้ผู้ชี้ขาดทิ้งสำลีที่ใช้ซับเลือด






2. อุปกรณ์ประจำสังเวียน


ที่นั่งพักนักมวย สำหรับนักมวยนั่งพัก ระหว่างพักยก 2 ที่
ขวดน้ำขนาดเล็ก 2 ขวด สำหรับดื่ม และขวดน้ำชนิดพ่นฝอย 2 ขวด ไม่อนุญาตให้นักมวยหรือพี่เลี้ยงใช้ขวด
-น้ำชนิดอื่น บนสังเวียน
-ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน
-น้ำ 2 ถัง
-โต๊ะและเก้าอี้สำหรับเจ้าหน้าที่
-ระฆัง
-นาฬิกาจับเวลาชนิดกดหยุดได้ 1 หรือ 2 เรือน
-ใบบันทึกคะแนน 
-หีบใส่กุญแจสำหรับเก็บใบบันทึกคะแนน
-ป้ายบอก จำนวนยก – จำนวนเวลา – และบอกลำดับเลขคู่ชก 1 ชุด
-นวม 2 คู่
-กางเกงมวยสีแดง และสีน้ำเงิน อย่างละ 1 ตัว (ใช้ในกรณีฉุกเฉิน)
-กระจับพร้อมเชือก 1 – 2 อัน (ใช้ในกรณีฉุกเฉิน)
-ฉากบังตา 2 อัน (ใช้ในกรณีฉุกเฉิน)
-เปลหามคนเจ็บ 1 ชุด
-กรรไกรปลายมน 1 อัน




3. นวมและผ้าพันมือ


นักมวยไทย จะต้องใช้นวมที่ได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลก ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดไว้ให้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขัน ใช้นวมของตนเอง




นักมวยรุ่นเล็กถึงรุ่นน้ำหนัก 122 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 8 ออนซ์ นักมวยรุ่นสูงกว่า 122 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ ไส้นวมต้องไม่เปลี่ยนรูปขณะกระแทกกัน จะต้องผูกเชือกนวมให้ปมเชือกอยู่ด้านนอกหลังข้อมือของนวม และให้ใช้นามที่สะอาด และใช้การได้เท่านั้น




จะต้องใช้ผ้าพันมืออย่างอ่อน ยาวข้างละไม่เกิน 6 เมตร กว้างไม่เกิน 5 ซม. ผ้าพันมือชนิดอื่นใช้ไม่ได้ อาจใช้พลาสเตอร์ยาง ข้างละ 1 เส้น ปิดทับข้อมือหรือหลังมือ ห้ามพันทับสันหมัด


การตรวจผ้าพันมือและตรวจการสวมนวม จะต้องอยู่ภายใต้การตรวจของเจ้าหน้าที่ตรวจนวม ก่อนจะขึ้นสู่เวที


4. การแต่งกายของนักมวย


นักมวย จะต้องสวมกางเกงขาสั้นเพียงครึ่งโคนขาให้เรียบร้อย ไม่สวมเสื้อและไม่สวมรองเท้า นักมวยมุมแดง จะต้องสวมกางเกงสีแดง หรือสีชมพู หรือสีสีเลือดหมู หรือสีขาวที่มีแถบคาดแดง ส่วนนักมวยมุมน้ำเงิน จะต้องสวมกางเกงสีน้ำเงิน หรือสีดำ ห้ามคาดแถบสีแดง และจะต้องสวมเสื้อคลุมตามข้อบังคับของสภามวยไทยโลก


นักมวย จะต้องสวมกระจับที่ทำขึ้นจากวัสดุแข็งแรงทนทาน และได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลก เมื่อถูกตีด้วยเข่าหรือถูกเตะถีบด้วยเท้า ตรงบริเวณอวัยวะเพศ จะไม่ทำให้เกิดอันตราย การผูกกระจับจะต้องผูกปมไว้ด้านหลัง และจะต้องผูกด้วยเงื่อนตาย เก็บปลายเชือกส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย


ห้ามไว้ผมยาวรุงรัง และห้ามไว้เครา อนุญาตให้ไว้หนวดได้ แต่จะต้องยาวไม่เกินริมฝีหาก เล็บเท้า จะต้องตัดให้เรียบและสั้น


จะต้องสวมมงคลผ้าประเจียด หรือรัดเกล้า เฉพาะเวลาร่ายรำไหว้ครู ก่อนทำการแข่งขันเท่านั้น เครื่องรางจะอนุญาตให้ผูกที่โคนแขน หรือที่เอว แต่จะต้องหุ้มผ้าให้มิดชิดเรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่คู่แข่งขัน


อนุญาตให้ใช้ปลอกยืดรัดข้อเท้ากันเคล็ด สวมข้อเท้าได้ข้างละไม่เกิน 1 อัน แต่ห้ามไม่ให้เลื่อนปลอกรัดขึ้นไป เป็นสนับแข้งหรือม้วนพับลงมา และห้ามใช้ผ้ารัดขาและรัดข้อเท้า




ห้ามมีเข็มขัด หรือสวมสร้อย สวมแหวน


ห้ามใช้น้ำมัน, วาสลิน, หรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้คู่แข่งขันเสียเปรียบ หรือเป็นที่น่ารังเกียจ ทาร่างกายหรือนวม


ฟันยาง นักมวย จะต้องใส่ฟันยาง


ผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยที่แต่งกายไม่สะอาดและไม่ถูกต้อง ออกจากการแข่งขัน ในกรณีที่นวมหรือเครื่องแต่งกายของนักมวย ไม่เรียบร้อยขณะแข่งขัน ผู้ชี้ขาดจะหยุดการแข่งขันเพื่อจัดให้เรียบร้อยเสียก่อน


5. การชั่งน้ำหนักและการจำแนกรุ่น


นักมวยจะต้องได้รับการตรวจร่างกายและรับรองจากนายแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้ง ว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์พอ ที่จะเข้าแข่งขันชกมวย และจะต้องชั่งน้ำหนักในวันแข่งขันอย่างตัวเปล่า โดยการแข่งขันจะต้องไม่เริ่มขึ้นก่อน 3 ชั่วโมงหลังจากเวลาชั่งน้ำหนัก


รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 104 ปอนด์ (47.727 กก.)


รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กก.)


รุ่นฟลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กก.)


รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท น้ำหนักไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กก.)


รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กก.)


รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กก.)


รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กก.)


รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท น้ำหนักไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กก.)


รุ่นไลท์เวท น้ำหนักไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กก.)


รุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กก.)


รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.638 กก.)


รุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท น้ำหนักไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.843 กก.)


รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักไม่เกิน 160 ปอนด์ (71.575 กก.)


รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กก.)


รุ่นครุยเซอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กก.)


รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักเกิน 190 ปอนด์ขึ้นไป (86.183 กก. ขึ้นไป)


6. การไหว้ครูและจำนวนยก


ก่อนเริ่มทำการแข่งขันในยกแรก นักมวยทั้งคู่จะต้องร่ายรำไหว้ครูตามประเพณี และถูกต้องตามรูปแบบมวยไทย โดยจะมีดนตรีประกอบ คือ ปี่ชวา ฉิ่งจับหวังหวะ และกลองแขก เมื่อร่ายรำไหว้ครูเสร็จแล้ว จึงจะเริ่มการแข่งขัน


การแข่งขันชกมวยไทย จะมี 5 ยก ยกละ 3 นาที หยุดพักระหว่างยก 2 นาที ส่วนการหยุดการแข่งขันเพื่อตำหนิโทษ ตักเตือน จัดเครื่องแต่งกายของนักมวย หรือด้วยเหตุอื่น ๆ ไม่นับรวมอยู่ใน 3 นาที


7. นักมวย


นักมวยไทย จะต้องมีคุณสมบัติ อายุไม่ต่ำกว่า 14 ปี บริบูรณ์ น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 100 ปอนด์ และต้องไม่เป็นที่ต้องห้ามตามที่ระบุไว้ในคู่มือแพทย์ของสภามวยไทยโลก


8. พี่เลี้ยงนักมวย


นักมวยแต่ละคน จะให้มีพี่เลี้ยง 2 คน ซึ่งจะแนะนำหรือช่วยเหลือหรือส่งเสริมนักมวยของตนในระหว่างการชกอยู่ไม่ได้ ถ้าพี่เลี้ยงละเมิดกติกาอาจถูกตำหนิโทษหรือให้ออกจากหน้าที่ หรือนักมวยของตนอาจถูกให้ออกจากการแข่งขันได้




พี่เลี้ยง จะต้องสวมเสื้อแสดงสัญลักษณ์คณะนักมวยของตนให้สุภาพเรียบร้อย การให้น้ำนักมวย พี่เลี้ยงจะต้องไม่ให้น้ำ แก่นักมวยของตนจนเปียกชุ่ม และจะต้องไม่ทำให้พื้นเวทีเปียกลื่น ก่อนเริ่มการแข่งขันในแต่ละยก พี่เลี้ยงจะต้องนำผ้าเช็ดตัว ขวดน้ำ ฯลฯ ออกไปจากขอบสังเวียน ขณะพักยก พี่เลี้ยงจะต้องตรวจดูเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ของนักมวยให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนที่สัญญาณของยกต่อไปจะดังขึ้น ในระหว่างการชก พี่เลี้ยงจะต้องอยู่ในที่นั่งของตน และถ้ามีเหตุที่นอกเหนือความสามารถ พี่เลี้ยงจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบทันที ห้ามพี่เลี้ยงใช้วาจาไม่สุภาพ หรือทำร้ายนักมวยของตน ระหว่างการแข่งขันและภายหลังการแข่งขัน พี่เลี้ยงจะยอมแพ้แทนนักมวยของตน เช่น โยนฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวเข้าไปในสังเวียน ไม่ได้




ถ้าเป็นการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่ง หรือป้องกันตำแหน่งแชมเปี้ยน ให้มีพี่เลี้ยงได้ฝ่ายละ 3 คน แต่ในระหว่างพักยก พี่เลี้ยงจะเข้าไปในสังเวียนได้เพียง 2 คนเท่านั้น


9. คณะกรรมการ(ผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน)


คุณสมบัติของกรรมการผู้ชี้ขาด(อยู่บนเวที) และผู้ตัดสิน(อยู่ข้างล่าง) จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปี เว้นแต่คณะกรรมการผู้ตัดสินฯ จะพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ต่อไปในระยะเวลาที่เห็นสมควร ..จะต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่า เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ...จะต้องผ่านการอบรม, การทดสอบ, การขึ้นทะเบียนผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินมวยไทย และได้รับตราพร้อมประกาศนียบัตร ของสภามวยไทยโลก


จำนวนกรรมการผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน จะต้องมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คน และกรรมการผู้ตัดสิน 3 คน ทั้งนี้ยังต้องมีประธานผู้ตัดสินเป็นผู้ควบคุมการแข่งขันอีกด้วย


กรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที(หรือในสังเวียน) จะต้องแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีน้ำเงิน เสื้อเชิ้ตสีน้ำเงิน มีเครื่องหมายของสภามวยไทยโลก และสวมรองเท้าหุ้มข้อชนิดเบาที่ไม่ส้นสูง จะต้องไม่สวมแว่น ไม่สวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะ และจะต้องตัดเล็บมือเรียบสั้น


กรรมการผู้ชี้ขาด จะต้องรักษากติกาและให้ความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด จะต้องไม่แสดงกริยาวาจาที่ไม่สุภาพต่อนักมวยและผู้ชม จะต้องควบคุมการแข่งขันทุกระยะโดยตลอด จะต้องป้องกันนักมวยที่อ่อนแอกว่าไม่ให้ได้รับความบอบช้ำจนเกินควรและโดยไม่จำเป็น จะต้องตรวจนวม ตรวจเครื่องแต่งกาย และฟันยางของนักมวยก่อนการแข่งขัน....ในยกแรกจะต้องให้นักมวยทั้งคู่จับมือกันกลางเวที และเตือนกติกาที่สำคัญ การจับมือจะกระทำกันอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มการแข่งขันในยกสุดท้าย ….ห้ามนักมวยทั้งสอง จับมือกันระหว่างการแข่งขัน




ผู้ชี้ขาด จะต้องใช้คำสั่ง 3 คำ คือ ”หยุด” เมื่อ สั่งให้นักมวยหยุดชก … ”แยก” เมื่อสั่งให้นักมวยแยกออกจากการกอดรัด ….และ ”ชก” เมื่อสั่งให้นักมวยชกต่อไป …ในกรณีที่ผู้ชี้ขาดสั่งแยก นักมวยทั้งสองจะต้องถอยหลังออกมาก่อน อย่างน้อยคนละ 1 ก้าว แล้วจึงจะชกต่อไป


ผู้ชี้ขาด จะต้องแสดงสัญญาณที่ถูกต้องให้นักมวยที่ละเมิดกติกาทราบ ถึงความผิดของตน ....เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน จะต้องรวบรวมบัตรให้คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คนข้างล่างเวที จากนั้น ชี้มุมผู้ชนะตามเสียงคะแนนข้างมาก แล้วชูมือนักมวยผู้ชนะขึ้น นำบัตรคะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ให้ประธานผู้ตัดสินตรวจสอบ


ผู้ชี้ขาดจะต้องไม่แสดงเจตนาใด ๆ อันส่อให้เห็นว่า ให้คุณให้โทษแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น นับช้า-นับเร็ว, เตือน-ไม่เตือน ฯลฯ อันจะมีผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง …..ต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์ชี้นำหรือให้สัมภาษณ์ต่อผลของการชกที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้ว ....ในกรณีที่ผู้ชี้ขาด ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ให้ผู้ตัดสินที่ 1 ขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่แทน


ผู้ชี้ขาดมีอำนาจ ….ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีฝีมือเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมาก หรือชกอยู่ข้างเดียว …..ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่านักมวยบาดเจ็บจนไม่สามารถจะให้ชกต่อไปได้ …..ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่านักมวยไม่แข่งขันกันโดยจริงจัง ในกรณีเช่นนี้ อาจให้นักมวยคนหนึ่งหรือสองคนออกจากการแข่งขันได้


สิ่งที่ผู้ชี้ขาด จะต้องปฏิบัติเป็นมาตรฐาน ....จะต้องตรวจความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ต่างๆก่อนจะเริ่มบอกให้ชก …..จะต้องให้นักมวยไหว้ครู ถ้าไม่ไหว้ครูจะไม่มีการแข่งขัน ……จะต้องชี้แจงกติกา ซึ่งพูดว่า ”ชกให้เต็มที่ มีน้ำใจ เป็นนักกีฬา ห้ามทำฟาล์วใด ๆ ทั้งสิ้น และต้องฟังคำสั่งอย่างเคร่งครัด ขอให้โชคดี” ……ชี้ให้นักมวยเข้ามุม เพื่อถอดมงคล และใส่ฟันยาง …….ให้สัญญาณแก่ผู้รักษาเวลา ให้ตีระฆังยกแรก ส่วนในยกต่อ ๆ ไปไม่ต้องให้สัญญาณ …….ให้สัญญาณการชก …….ต้องแน่ใจว่านักมวยหยุดและแยกเข้ามุมแล้ว จึงจะเดินเข้ามุมกลาง ……เมื่อหมดยกสุดท้าย ก่อนจะรวบรวมใบคะแนน จะต้องให้นักมวยอยู่ในมุมของตนก่อน ……..เมื่อรวบรวมใบคะแนนจากผู้ตัดสินครบแล้ว จึงชูมือผู้ชนะ โดยหันหน้าไปในทิศทางเดียวกันกับนักมวย ……การยืน หรือการยืนมุมของผู้ชี้ขาด จะต้องยืนตรง อย่างสง่าผ่าเผยเสมอ ซึ่งยืนได้ 2 แบบ คือ ยืนเอามือไขว้หลัง หรือยืนกางแขนทาบไปตามเชือกเส้นบน ……ผู้ชี้ขาด จะผลักนักมวยไม่ได้ …ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรใช้เท้ากันหรือแยกมวย และไม่ควรยกเท้าสูง ….การรับศีรษะนักมวย ถือเป็นศิลปของการห้ามมวย ซึ่งควรทำได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว ......และผู้ชี้ขาด จะต้องไม่ลงจากเวทีก่อนนักมวย


หน้าที่ของผู้ตัดสิน …ผู้ตัดสินแต่ละคนจะต้องตัดสินการชกของนักมวยโดยอิสระ และจะต้องตัดสินไปตามกติกา .....ผู้ตัดสินแต่ละคน จะต้องอยู่คนละด้านของเวทีและห่างจากผู้ชม …ในระหว่างที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ ผู้ตัดสินจะต้องไม่พูดกับนักมวย หรือกับผู้ตัดสินด้วยกัน หรือกับบุคคลอื่น ยกเว้นกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที ....ถ้ามีความจำเป็นจะต้องพูดกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที ให้ใช้เวลาหยุดพักระหว่างยก แจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เช่น พี่เลี้ยงปฏิบัติผิดมารยาท เชือกหย่อน ฯลฯ ซึ่งผู้ชี้ขาดอาจจะไม่สังเกตเห็นในขณะนั้น


ผู้ตัดสิน จะต้องให้คะแนนแก่นักมวยทั้งสอง ในบัตรบันทึกคะแนน ทันทีที่สิ้นสุดการแข่งขันของแต่ละยก …ผู้ตัดสินจะต้องไม่ลุกออกจากที่นั่งให้คะแนน จนกว่าผู้ชี้ขาดจะชูมือตัดสินผลการแข่งขันแล้ว ……การแต่งกาย ผู้ตัดสิน จะต้องแต่งกายตามที่ สภามวยไทยโลก กำหนด


จรรยาบรรณของผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิ


จะต้องไม่มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต ……จะต้องไม่ให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์ใดๆที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียในการตัดสิน …….จะต้องไม่ประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง ……จะต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการแข่งขัน 24 ชั่วโมง






10. ผู้รักษาเวลาและผู้ประกาศ


ที่นั่ง ....ที่นั่งของผู้รักษาเวลาและผู้ประกาศ จะต้องนั่งอยู่ข้างเวที


หน้าที่ของผู้รักษาเวลา ......คือ รักษาจำนวนยก เวลาของแต่ละยก เวลาหยุดพักระหว่างยก และเวลานอกเมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญญาณ โดยมิให้ผิดพลาด


ผู้รักษาเวลา ......จะต้องให้สัญญาณเริ่มยกและหมดยกด้วยการตีระฆัง …..จะต้องหักเวลาออกสำหรับการหยุดชั่วคราว หรือเมื่อผู้ชี้ขาดสั่งให้หยุดเวลา …..จะต้องรักษาเวลาให้ถูกต้องทุกระยะ ด้วยนาฬิกาพกหรือนาฬิกาตั้งโต๊ะ …..ตอนปลายยกซึ่งไม่ใช่ยกสุดท้าย ถ้ามีนักมวยล้ม และผู้ชี้ขาดกำลังนับ หากหมดเวลาแข่งขัน (เวลา 3 นาที) ต้องยังไม่ตีระฆัง และให้ตีระฆังเมื่อผู้ชี้ขาดสั่ง ”ชก” ……ตอนปลายยกสุดท้าย ถ้ามีนักมวยล้ม และผู้ชี้ขาดกำลังนับ หากหมดเวลา 3 นาที ผู้รักษาเวลาต้องตีระฆังทันที


หน้าที่ของผู้ประกาศ .......คือ ต้องประกาศชื่อ – มุม – น้ำหนัก ของนักมวยทั้งสองฝ่ายให้ผู้ชมทราบก่อนการแข่งขัน และประกาศอีกครั้งเมื่อนักมวยปรากฏตัวบนเวที ……จะต้องประกาศให้พี่เลี้ยงออกนอกสังเวียน เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนจากผู้รักษาเวลา …..จะต้องประกาศว่าเริ่มยกที่เท่าใดโดยเร็วก่อนสัญญาณเริ่มยก และประกาศอีกครั้งเมื่อสัญญาณหมดยกดังขึ้น ว่าหมดยกที่เท่าใด ……จะต้องประกาศว่านักมวยฝ่ายใดเป็นผู้ชนะ หลังจากผู้ชี้ขาดชูมือนักมวยแล้ว


11. การให้คะแนน


การชกที่ได้คะแนน มีดังนี้


นักมวยฝ่ายใดใช้อาวุธมวยไทย คือหมัด-เท้า-เข่า-ศอก โดยถูกต้องตามกติกา กระทำถูกคู่แข่งขันได้มากกว่า จะเป็นผู้ชนะ


นักมวยฝ่ายใดใช้อาวุธมวยไทยตามลักษณะแบบแผนมวยไทย โดยถูกต้องตามกติกา กระทำถูกคู่ต่อสู้ได้หนักหน่วง ชัดแจ้ง รุนแรง และถูกเป้าหมายที่สำคัญได้มากกว่า เป็นฝ่ายชนะ


นักมวยฝ่ายใดใช้อาวุธมวยไทย กระทำคู่ต่อสู้ให้เกิดความบอบช้ำ บาดแผลที่เป็นอันตรายมากกว่า เป็นฝ่ายชนะ


นักมวยฝ่ายใดเป็นผู้เดินเข้ากระทำ (ฝ่ายรุก)มากกว่า เป็นฝ่ายชนะ


นักมวยฝ่ายใดเป็นผู้ รุก – รับ – หลบหลีก - ตอบโต้ ตามลักษณะและชั้นเชิงมวยไทยได้ดีกว่า เป็นฝ่ายชนะ


นักมวยฝ่ายใด ที่มิได้กระทำฟาล์วหรือกระทำฟาล์วน้อยกว่า เป็นฝ่ายชนะ


การชกที่ไม่ได้คะแนน มีดังนี้ 


การชกที่ละเมิดกติกาข้อหนึ่งข้อใด …….อาวุธที่กระทำ ไปถูกแขน, ขาของคู่แข่งขัน อันเป็นลักษณะของการป้องกันของคู่แข่งขัน .........หรืออาวุธที่กระทำ ไปถูกคู่แข่งขันแต่เบา คือไม่มีน้ำหนักส่งจากร่างกาย ได้แก่ ลำตัว หรือไหล่




การให้คะแนน

ในแต่ละยก มีคะแนนเต็ม 10 คะแนน .....ในยกที่เสมอกัน จะได้ฝ่ายละ 10 คะแนน
ผู้ชนะในยกนั้น จะได้คะแนน 10 คะแนน ผู้แพ้ได้ 9 คะแนน (10 : 9)
ผู้ชนะในยกที่ชนะชัดเจนมาก จะได้คะแนน 10 คะแนน ผู้แพ้ได้ 8 คะแนน (10 : 8)
ผู้ชนะในยกนั้น และได้นับ 1 ครั้ง จะได้คะแนน 10 ผู้แพ้ได้ 8 คะแนน (10 : 8)
ผู้ชนะ ที่ชนะชัดเจนมากในยกนั้น และได้นับ 1 ครั้ง จะได้คะแนน 10 ผู้แพ้ได้ 7 คะแนน (10 : 7)
ผู้ชนะในยกนั้น และได้นับสองครั้ง จะได้คะแนน 10 ผู้แพ้ได้ 7 คะแนน (10 : 7)
นักมวยที่กระทำฟาล์ว ต้องไม่ได้คะแนนเต็มในยกที่ถูกตัดคะแนน


การฟาล์ว


ระหว่างการชกของแต่ละยก ผู้ตัดสินจะต้องคำนึงถึงความสำคัญของการฟาล์ว และตัดคะแนนตามที่ ผู้ชี้ขาดสั่งให้ตัดคะแนน ……ถ้าผู้ตัดสินเห็นการฟาล์วอย่างชัดเจน โดยผู้ชี้ขาดไม่ได้สังเกตและตัดคะแนนนักมวยผู้กระทำฟาล์วนั้น ผู้ตัดสินจะต้องประเมินความรุนแรงของการฟาล์ว และตัดคะแนนไปตามความเหมาะสม พร้อมทั้งระบุไว้ด้วยว่า ทำฟาล์วด้วยเหตุใด


การชกที่ผิดกติกาและฟาล์ว


หมายถึง .....กัด ....ทิ่มลูกนัยน์ตา .....ถ่มน้ำลายรดคู่ต่อสู้ .....แลบลิ้นหลอก .....ใช้ศีรษะชนหรือโขก .....กอดปล้ำหรือทุ่มคู่ต่อสู้ ......หักหลังคู่ต่อสู้ ......จับล็อคแขนคู่ต่อสู้ .....ใช้ท่ายูโดและมวยปล้ำ .....ล้มทับหรือซ้ำเติมคู่ต่อสู้ที่ล้มหรือกำลังจะลุกขึ้น .....จับเชือกหรือพยายามจับเชือกเพื่อชก……ใช้กริยาวาจาไม่เหมาะสมในการแข่งขัน …….การตีเข่ากระจับโดยเจตนา เช่น จับคอตีเข่ากระจับ แทงเข่ากระจับ หรือโยนเข่าถูกกระจับ




.......การตัดคะแนนนักมวยที่กระทำฟาล์ว ผู้ชี้ขาดจะสั่งตัดครั้งละ 1 คะแนน ……การปฏิบัติต่อนักมวยที่ถูกเข่าที่กระจับ ให้ผู้ชี้ขาดบนเวที ขอเวลานอก เพื่อให้นักมวยที่ถูกเข่าที่กระจับ พักไม่เกินครั้งละ 5 นาที




ล้ม

หมายถึง ….ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกพื้นเวที นอกจากเท้า …..ยืนทับอยู่บนเชือกหมดสติ ……ถูกชกออกไปนอกสังเวียน …..ถูกชกอยู่ฝ่ายเดียวอย่างหนัก โดยไม่มีการตอบโต้ แม้จะไม่ล้มหรือไม่ทับอยู่บนเชือก
ในกรณีที่นักมวยคนหนึ่งคนใด ถูกกระทำล้ม ให้ผู้ชี้ขาดเริ่มนับ พร้อมกับให้คู่ชก รีบถอยห่างออกไปอยู่มุมกลาง ไกลทันที ถ้าไม่ยอมถอยห่างออกไปตามคำสั่งของผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดจะต้องหยุดการนับ จนกว่าคู่ชกนั้นจะปฏิบัติตามคำสั่ง จึงให้ผู้ชี้ขาดนับต่อไปจากที่ได้นับแล้ว เมื่อผู้ล้ม ลุกขึ้นมาได้ และได้รับคำสั่งจากผู้ชี้ขาดให้ชก จึงจะชกต่อไปได้


เมื่อนักมวยคนใดล้มลง ให้ผู้ชี้ขาดนับดัง ๆ จาก 1 – 10 โดยทอดระยะห่างกัน 1 วินาที และทุก ๆ วินาทีที่นับ ผู้ชี้ขาดจะต้องให้สัญญาณมือด้วย เพื่อนักมวยผู้ล้ม จะได้รู้ว่าตนถูกนับ ……ถ้านักมวยผู้ล้ม ลุกขึ้นมาได้ก่อนผู้ชี้ขาดจะนับถึง ”สิบ” และพร้อมที่จะชกต่อไปได้ ผู้ชี้ขาดจะต้องนับต่อไปจนถึง 8 เสียก่อน จึงให้ชกต่อไปได้ .... แต่ถ้าผู้ชี้ขาดได้นับถึง ”สิบ” แล้ว ให้ถือว่าการต่อสู้ได้สิ้นสุดลง และต้องตัดสินให้ผู้ที่ล้มนั้น แพ้โดย ”น็อคเอ๊าท์”


ถ้านักมวยล้มลงพร้อมกันทั้งสองคน ให้ผู้ชี้ขาดนับดัง ๆ จาก 1 – 10 ถ้านักมวยทั้งสองคนยังล้มอยู่จนกระทั่งนับสิบ ให้ตัดสินเสมอกัน .....ในกรณีที่นักมวยล้มลงทั้งคู่และบังเอิญแขนขาทั้งสองฝ่าย เกี่ยวกันหรือทับกัน โดยที่นักมวยทั้งคู่กำลังลุกขึ้น ผู้ชี้ขาดต้องแยกออกจากกันและควรหยุดนับในช่วงนั้น …ถ้านักมวยผู้ล้มลงแล้วลุกขึ้นมาได้ก่อนนับสิบ แต่กลับล้มลงไปอีก ให้ผู้ชี้ขาดนับต่อไป จากที่นับมาแล้ว


ถ้านักมวยคนใดไม่พร้อมที่จะชกต่อไปได้ ภายหลังจากเวลาหยุดพักระหว่างยกหมดไปแล้ว ผู้ชี้ขาดจะต้องนับ ยกเว้นเครื่องแต่งกายไม่เรียบร้อย


รายชื่อตำนานนักมวยไทย


1. ผล พระประแดง


2. สุข ปราสาทหินพิมาย สมญานาม ยักษ์ผีโขมด


3. ทองใบ เจริญเมือง (ยนตรกิจ)


4. ชูชัย พระขรรค์ชัย สมญานาม พระเอกยอดนักมวย


5. ราวี เดชาชัย


6. อดุลย์ ศรีโสธร สมญานาม ขวัญใจนักเรียน


7. เขียวหวาน ยนตรกิจ


8. อภิเดช ศิษย์หิรัญ สมญานาม จอมเตะบางนกแขวก


9. คงเดช ลูกบางปลาสร้อย


10. เดชฤทธิ์ อิทธินุชิต (ยนตรกิจ)


11. ปราบธรณี เมืองสุรินทร์


12. วิชาญ ชำนาญวารี ( ส.พินิจศักดิ์ ) สมญานาม สุภาพบุรุษนักมวย


13. พรชัย แหลมฟ้าผ่า (ส.ท่ายาง)


14. พุฒ ล้อเหล็ก


15. หัวไทร สิทธิบุญเลิศ


16. ผุดผาดน้อย วรวุฒิ


17. สกัด เพชรยินดี สมญานาม จอมไหว้ครู


18. วิชาญน้อย พรทวี สมญานาม นักชกอมตะ


19. ประยุทธ อุดมศักดิ์ สมญานาม ม้าสีหมอก


20. สามารถ พยัคฆ์อรุณ สมญานาม เพชรฆาตหน้าหยก


และรามอน เด็กเกอร์ Ramon Dekker นักมวยไทยชาวต่างชาติ สมญานาม ไอ้กังหันนรก

ขอขอบคุณข้อมูล(ไทย)จาก http://www.bloggang.com
คลิป Muaythai จาก http://www.youtube.com/


Many thanks: http://www.youtube.com/free counters

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555


Chapter 1

..ปฐมบทมวยไทย...   Muay Thai มวยไทย
(Thai Boxing) is what the Thai people call their own martial art. The art of Muay Thai has been the country's most popular spectator sport for hundreds of years.. It is unique among other kinds of fighting disciplines in its approach to close quarters fighting. Fighters are able to more effectively use their elbows, knees, feet and fists than in other martial arts. The Wai Kru (respects to the teacher) also known as Ram Muay (boxing dance) is an important part of any evening watching Thai Boxing. These are ceremonies that are performed before each Muay Thai bout. Sometimes the Wai Kru are brief and basic, but other times they may be eloquent performances that draw praise and applause from the crowd. It is said that those who see well can determine who will win the fight by watching two fighters perform their Wai Kru. Teachers are highly respected in Thai society, and many artistic disciplines, not just Muay Thai, perform Wai Kru or "respects to the teacher". Foreigners viewing these rituals should take care to be polite and not act disrespectfully regarding the Wai Kru. The Thais take seriously any insult to the Wai Kru, just as you would if somebody insulted your spiritual beliefs. Before the competition of Muay-Thai ,Krabi-Krabong (Thai swords) , or any other ancient weapons martial arts , every competitor must perform the "Wai-Khru" ritual and perform the boxing dance which is the continued tradition since ancient times."Wai-Khru" is a way to pay respect to his majesty the king or the chairman of the competition tournament. Furthermore , "Wai-Khru" is the way to realize the goodness of the master who gave them the knowledge. It's also the way to create the strength of their mind. The style of the dance is unique to each boxing bureau. Boxers who danced the same style wouldn't box each other since they realize that they have the same master. Furthermore, to dance is one way to warm up before starting the fight . It also helps relax the stress and to prepare body and mind to be ready to get into the battle.
  ...
มวยไทยเป็นศิลปะของการต่อสู้ป้องกันตัวได้จริงสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการต่อสู้และในการกีฬา ศิลปะประเภทนี้บรรพบุรุษของชาติไทยใช้อบรมสั่งสอนสืบทอดกันมาให้ดำรงอยู่ตลอดไป บรรดาชายฉกรรจ์จะได้รับการสั่งสอนฝึกฝนศิลปะประเภทนี้อย่างชัดเจนทั้งสิ้น การใช้อาวุธรบสมัยโบราณ เช่น กระบี่ กระบอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ นักรบไทยจะนำไปประกอบการต่อสู้ที่มีชั้นเชิงสูง เดิมมักจะฝึกสอนกันเฉพาะบรรดาเจ้านายชั้นสูงนับตั้งแต่พระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงแพร่หลายไปถึงสามัญชน ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากครูอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดทหารขุนพล ยอดนักรบของชาติมาแล้วได้ละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิต พยายามถ่ายทอดวิทยาการให้แก่ศิษยานุศิษย์ และสืบเนื่องมาจากไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ครูอาจารย์ที่สอนอยู่ในเพศบรรพชิตจึงทำให้มวยไทยกับศาสนาพุทธมีความสัมพันธ์กันจนแยกไม่ออก ซึ่งจะสังเกตได้จากก่อนการชก นักมวยจะมีการไหว้ครู ร่ายมนต์คาถาตามร่างกายก็มีเครื่องรางของขลัง เช่น ผ้าประเจียดรัดแขน หรือ มงคลสวมศีรษะ เป็นต้น
     มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้น มวยไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับชาติไทยด้วยซ้ำ เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปะประจำชาติของไทยจริงๆ ยากที่ชาติอื่นจะเลียนแบบได้
     มวยไทยในสมัยก่อนจะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อนไทยได้มีการรบพุ่งและสู้รบกันกับประเทศเพื่อนบ้านบ่อย ๆ การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืนจะสู้กันมีแต่ดาบทั้งสองมือและมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้การรบพุ่งก็ต้องมีการประชิดตัว คนไทยเห็นว่าการรบด้วยดาบนั้นเป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัวมากเกินไป บางครั้งคู่ต่อสู้อาจจะเข้ามาฟันเราได้ง่ายขึ้น ทำให้แพ้คู่ต่อสู้ได้....
  ....................ที่มา (ขอขอบคุณ)เว็บไซท์.. มวยไทย2000 และ ภาพ จาก google.co.th...............
.....................................................................................................................................
free counters